ต่อไปนี้คือ 4 วิธีการหลักที่องค์กรควรทำ เพื่อสร้าง data driven organization ให้เกิดขึ้นจริง
1. หาจุดเริ่มต้นที่ดี
ในการที่จะใช้ข้อมูลได้นั้นต้องเริ่มต้นจากการมีจุดประสงค์ของการใช้ก่อน และจุดเริ่มต้นที่ดีอย่างหนึ่งคือการโฟกัสไปกับการสร้างคุณค่า และความไว้วางใจจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งลูกค้า หรือพาร์ทเนอร์ต่าง ๆ เพราะในการที่องค์กรจะให้การบริการที่มีประสิทธิภาพได้นั้น การมีข้อมูลที่เป็นตัวอ้างอิงได้คือสิ่งจำเป็น นั่นทำให้การเริ่มต้นใช้ข้อมูลกับตรงนี้คือจุดเริ่มต้นที่ง่ายที่สุด พร้อม ๆ กับจุดเริ่มต้นในมุมอื่น ๆ ได้แก่
- เริ่มต้นจากข้างบน หรือจาก C-level ลงมา ตั้งแต่การตัดสินใจเกี่ยวกับทิศทางการเติบโต ค่าใช้จ่าย และความเสี่ยงผู้นำต้องใช้ Data ในการตัดสินใจ ซึ่งอาจจะฟังดูง่ายแต่ในทางปฏิบัตินั้น Ego มักจะทำให้เราลืมเรื่องนี้ได้ง่าย เพราะมันนั่นหมายถึงว่าแม้ว่าจะเป็นไอเดียของ CEO ก็ตามถ้าเด็กฝึกงานมี Data มาลบล้างก็ต้องฟัง
- ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ข้อมูล หรือ data literacy เพราะองค์ความรู้นี้จะช่วยเปิดโอกาสให้องค์กรถามคำถามได้ตรงจุด มองเห็นข้อมูลในเชิงลึก และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ให้ความสำคัญกับคุณภาพของข้อมูลที่มี
ในการนำข้อมูลมาพัฒนางานได้นั้นต้องอาศัยคุณภาพของข้อมูลที่เราวัด โดยหลักการสำคัญคือการวัดนั้นทำให้เรามองเห็น และการมองเห็นนั้นทำให้มันได้รับการพัฒนา และในทางกลับกันนั่นหมายความว่าการพัฒนาอะไรก็ตามต้องอาศัยข้อมูลที่มีคุณภาพ จากวิธีการวัดที่มีคุณภาพ ดังนั้นองค์กรจึงควรโฟกัสกับการออกแบบข้อมูลที่ต้องการใช้ให้ตอบโจทย์สิ่งที่ต้องการจะรู้ โดยมีตัวแปรน้อยที่สุดเท่าที่ทำได้ เพราะการพยายามเก็บข้อมูลในหลาย ๆ ด้านจนเยอะเกินไป เพราะนั่นนำไปสู่ความสับสนจากข้อมูลที่เยอะเกินไปจนใช้ยากเป็นผลลัพท์ที่ตรงกับข้ามกับการพยายามให้พนักงานใช้ข้อมูลได้
3. เน้นฉันทามติมากกว่าลำดับขั้น
อีกประเด็นที่สำคัญในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นข้อมูลคือการต้องเปลี่ยนวิธีการตัดสินใจภายในองค์กรจากการอิงลำดับขั้น ให้เป็นการตัดสินใจโดยการลงมติ ฝ่ายเพราะการตัดสินใจด้วย consensus นั้นต้องอาศัยความรู้ที่มาจากข้อมูล ในขณะที่การตัดสินใจด้วยลำดับนั้นอาศัยลำดับขั้น และความอาวุโส และนั่นนำมาซึ่งวัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยหลักการที่จะช่วยให้การใช้ลงมตินั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- มีผู้เชี่ยวชาญในด้านที่กำลังตัดสินใจอยู่ด้วย
- ก่อนตัดสินใจชวนกันตั้งคำถามไปยังจุดประสงค์ คุณภาพของข้อมูล และ bias ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
4. อาศัยใช้เทคโนโลยีมาช่วย
แม้ว่าเทคโนโลยีนั้นไม่ใช่หัวใจของการสร้างองค์กรแห่งการใช้ข้อมูล แต่มันก็ยังคงมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้วัฒนธรรมองค์กรที่เราต้องการเกิดขึ้นได้ และบทบาทสำคัญของเทคโลโลยีคือการให้ความรวดเร็ว และการเก็บใช้ข้อมูลได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
เมื่อรู้ทั้ง 4 ข้อนี้แล้ว อย่าลืมนำไปปรับใช้ เพื่อที่จะได้ไม่พลาดโอกาสในการนำข้อมูลมาใช้พัฒนาผลลัพท์ทางธุรกิจให้ก้าวกระโดดมากยิ่งขึ้นในปีหน้านะคะ