4 หัวใจสำคัญในการสร้างไอเดีย (Idea generation)

ความทุกข์ใจอย่างหนึ่งของชีวิตการทำงานคือ #การถูกมอบหมายให้คิดโปรเจค หรือสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ ให้กับแผนกหรือองค์กร หลายคนถึงขนาดบ่นกับตัวเองว่า "ฉันไม่มีหัวทาง Creative เลย" "เป็นคนไม่มีไอเดียสร้างสรรค์" "งานแน่นมาก คิดอะไรใหม่ๆ ไม่ออกหรอก"

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทุกคนสามารถเป็นคนที่มีความครีเอทีฟ มีหัวสร้างสรรค์ได้ เพราะ #ความคิดสร้างสรรค์ มันเป็นทักษะที่ไม่ใช่แค่เพียงสอนกันได้ แต่ยังพัฒนาได้จากการฝึกฝนด้วย ซึ่ง 4 หัวใจสำคัญในการสร้างไอเดีย (Idea generation) จะนำพาคุณไปสู่ความคิดมากมาย (อ่านเพิ่มเติมบทความ Innovation Management เคล็ดลับในการสร้าง Innovation: https://www.brightsidepeople.com/idea-management-เคล็ดลับในการสร้าง-innovation/


📌1 .Quantity เน้นปริมาณ

เคล็ดลับ: สร้าง สร้าง สร้าง สิ่งที่ดีที่สุดในการได้ไอเดียปริมาณเยอะๆ คือ การจดแนวคิดต่างๆ ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จากนั้นคิดเสริมต่อจากไอเดียที่คนอื่นแชร์

ข้อควรระวัง: การกักตุนไอเดียต่างๆ ไม่ช่วยให้ได้ไอเดียที่เยอะขึ้น หากคุณรอนานเกินไปที่จะเสนอไอเดีย คุณอาจจะลืมไอเดียนั้นไปแล้ว การแบ่งปันความคิดออกไปดัง ๆ จะช่วยขับเคลื่อนความคิดไปพร้อมกัน ไม่เพียงแต่ช่วยสร้างปริมาณ แต่ยังมีความหลากหลายอีกด้วย

นอกจากนี้อย่าลืม Take notes ความคิดของคุณทันทีที่คิดได้


📌 2. Variety ความหลากหลาย

เคล็ดลับ: ความหลากหลายทำให้ความคิดคุณกว้างขึ้น วิธีที่ง่ายที่สุดวิธีหนึ่งในการเพิ่มความหลากหลายคือ การจับกลุ่ม หรือจัดหมวดหมู่สิ่งที่คล้ายกันให้อยู่ด้วยกัน หลังจากนั้นให้เลือกสิ่งที่คุณยังไม่ได้เจาะลึกและสร้างแนวคิดเพิ่มเติมจากแนวคิดนั้น

ข้อควรระวัง: การได้แนวคิดหนึ่งหรือสองหมวดยังไม่เพียงพอและขาดความหลากหลาย หากคุณรู้สึกติด คิดไม่ออก ให้ถอยกลับมาและสร้างตัวเลือกหมวดหมู่ที่กว้างขึ้นใหม่ การหาแนวคิดจากหลากแหล่งช่วยคุณได้ เช่น การออกไปดูงาน การตั้งสมมติฐาน จะช่วยขยายขอบเขตความคิดของคุณ


📌 3.Unique มีเอกลักษณ์

เคล็ดลับ: หนึ่งในการหาไอเดียที่ยากที่สุดคือ การหาความเป็นเอกลักษณ์ ไม่ใช่เพราะคุณไม่สามารถทำได้ แต่เป็นเพราะคนส่วนใหญ่ไม่รู้จักตัวตนของธุรกิจของคุณมากเท่าที่ควร ข้อแนะนำคือ ยิ่งคุณรู้เกี่ยวกับธุรกิจของคุณมากเท่าไหร่ ความเป็นตัวตนของแบรนด์คุณก็จะยิ่งชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น

ข้อควรระวัง: มันง่ายกว่าในการคิดภาพกว้าง แล้วค่อยๆ กรอบ

แนวคิดลงมา มากกว่าการระวังในการคิดหรือคิดจากแนวคิดที่ปลอดภัยแล้วพยายามหาเอกลักษณ์ที่แตกต่างในแนวคิดนั้น


📌 4. Elaboration การลงรายละเอียดให้รอบคอบ

เคล็ดลับ: การแชร์แนวคิดออกมาสามารถจุดประกายให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ ที่จะค่อยๆเพิ่มความแตกต่างไปจากคนอื่น ในการระดมไอเดียเราจะเรียกว่า “การสร้าง” การทำซ้ำแบบนี้จะช่วยพัฒนาไอเดียให้ดีขึ้นและมีความรอบคอบมากขึ้น ยิ่งคุณละเอียดมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งพบความเป็นไปได้มากเท่านั้น

ข้อควรระวัง: การลงรายละเอียดอาจทำให้ออกนอกเรื่องได้หากคุณไม่คอยดึงกลับมาที่ประเด็นหลัก เช่น เมื่อสักครู่เรากำลังคุยเรื่องอะไรกันอยู่? สุดท้าย หลังจากที่คุณสร้างไอเดียแล้วดูภาพรวมและคอยประเมินร่วมกับทีมว่าอันไหนเป็นประโยชน์ อันไหนค่อยเอากลับมาใช้ใหม่

Related   Idea

สรุปให้ ChatGPT ทำอะไรได้บ้าง พร้อมตัวอย่างคำสั่งที่ใช้บ่อย

ChatGPT เป็นแชทบอตจาก OpenAI ที่มีจุดเด่นคือ สามารถต่อบทสนทนาในรูปประโยคที่เป็นธรรมชาติได้เหมือนคุยกับมนุษย์ด้วยกัน และสามารถตอบคำถามที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ต่อยอดได้ด้วย

TIME MANAGEMENT ช่วยเพิ่มโฟกัสการทำงาน

หากเมื่อปีที่ผ่านมา คุณพบว่างานยุ่งมากแต่ “ไม่มีเวลาโฟกัสกับงานของตัวเอง” บทความนี้จะมาแบ่งปัน 4 เทคนิคง่ายๆที่ช่วยให้คุณสามารถจัดการบริหารเวลา (Time management) ได้ดีมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มเวลาทำงานของตัวเอง ตลอดจนป้องกันอาการ Burnout ที่อาจจะเกิดขึ้นหากไม่สามารถบริหารเวลากับปริมาณงานได้อย่างเหมาะสม

10 เครื่องมือสำคัญในการจัดการข้อมูล (Data Analytics Tools) อย่างมีประสิทธิภาพ!

Big Data หรือข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำให้เราทราบและพยากรณ์ได้ว่า
กลุ่มเป้าหมายทางการตลาดใดที่จะใช้สินค้าของเรา หรือทำนายผลตอบสนองหลังเปิดตัวสินค้าใหม่ได้
แต่ก่อนที่จะมีการนำข้อมูลมาใช้ แน่นอนว่าข้อมูลขนาดใหญ่ที่ได้มานั้นเป็นข้อมูลจำนวนมหาศาล ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนเป็นข้อมูลดิบ ด้วยเหตุนี้ การใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics Tools) จึงเป็นเรื่องสำคัญ

ดังนั้นบทความในวันนี้จะพาคุณไปรู้จักกับ 10 เครื่องมือสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อจัดการ Data ได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ความต้องการกันค่ะ